นางสุธาสินี  มะทะ ตำแหน่ง ครูวิทยฐานะ ชำนาญการ ครูผู้สอนวิชาคณิตศาสตร์
เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ เรื่องการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยการจัดกิจกรรม
ตามแนวคิดคอนสรัคติวิสต์ประกอบแบบฝึกทักษะ
เรื่องเศษส่วนและการบวก ลบ คูณ หารเศษส่วน
ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่6โรงเรียนอนุบาลสานสายใยรัก
เทศบาลเมืองเมืองแกนพัฒนา


ชื่อเรื่อง การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  ด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ประกอบแบบฝึกทักษะเรื่อง
    เศษส่วนและการบวก ลบ คูณ หารเศษส่วน  ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โรงเรียนอนุบาล
    สานสายใยรักเทศบาลเมืองเมืองแกนพัฒนา
ชื่อผู้ศึกษา        นางสุธาสินี  มะทะ
ปีการศึกษา       2561

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์ 1) เพื่อหาประสิทธิภาพของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ประกอบแบบฝึกทักษะเรื่อง เศษส่วนและการบวก ลบ คูณ หารเศษส่วน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ให้เป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ระหว่างก่อนและหลังเรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ประกอบแบบฝึกทักษะ เรื่อง เศษส่วนและการบวก ลบ คูณ หารเศษส่วน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์  โรงเรียนอนุบาลสานสายใยรักเทศบาลเมืองเมืองแกนพัฒนา และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ประกอบแบบฝึกทักษะ เรื่อง เศษส่วนและการบวก
ลบ คูณ หารเศษส่วน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์  โรงเรียนอนุบาลสานสายใยรักเทศบาลเมืองเมืองแกนพัฒนา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการ
วิจัยครั้งนี้ คือ  นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/2 โรงเรียนอนุบาลสานสายใยรักเทศบาลเมืองเมืองแกนพัฒนา ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2
ปีการศึกษา 2561 จำนวนนักเรียน 19 คน การจัดนักเรียนเข้าสู่ห้องเรียนทางโรงเรียนใช้วิธีคละความสามารถ ซึ่งผู้วิจัยได้มาด้วยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้หน่วยการสุ่มเป็นห้องเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด
ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เรื่องเศษส่วนและการบวก ลบ คูณ หารเศษส่วน แผนละ 1 ชั่วโมง จำนวน 21 แผน 2) แบบฝึกทักษะ เรื่อง เศษส่วน
และการบวก ลบ คูณ หารเศษส่วน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่  6 จำนวน 10 เล่ม  3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียน เรื่องเศษส่วนและการบวก ลบ คูณ หารเศษส่วน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์  ชั้นประถมศึกษาปีที่  6 เป็นแบบทดสอบปรนัย
ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30  ข้อ  จำนวน 1  ฉบับ  และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการกิจกรรมการเรียนรู้ ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ประกอบแบบฝึกทักษะเรื่อง เศษส่วนและการบวก ลบ คูณ หารเศษส่วน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอนุบาลสานสายใยรักเทศบาลเมืองเมืองแกนพัฒนา จำนวน 12  ข้อ  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ค่าเฉลี่ยตัวอย่าง ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานตัวอย่าง และการทดสอบที (T-test)

             ผลการวิจัยพบว่า   
1. ประสิทธิภาพของกระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ตามแนวคิดทฤษฎี คอนสตรัคติวิสต์ ประกอบแบบฝึกทักษะ เรื่อง เศษส่วนและการบวก ลบ คูณ หารเศษส่วน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์  โรงเรียนอนุบาลสานสายใยรักเทศบาลเมืองเมืองแกนพัฒนา (E1) เท่ากับ 83.41 และประสิทธิภาพของผลลัพธ์สำหรับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ตามแนวคิดทฤษฎี คอนสตรัคติวิสต์ ประกอบแบบฝึกทักษะ เรื่อง เศษส่วนและ
การบวก ลบ คูณ หารเศษส่วน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์  โรงเรียนอนุบาลสานสายใยรักเทศบาลเมืองเมืองแกนพัฒนา  (E2) เท่ากับ 82.98 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง เศษส่วนและการบวก ลบ คูณ หารเศษส่วน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนด้วยการจัดกิจกรรม
การเรียนรู้ ตามแนวคิดทฤษฎี คอนสตรัคติวิสต์ ประกอบแบบฝึกทักษะ เรื่อง เศษส่วนและการบวก ลบ คูณ หารเศษส่วน ของนักเรียนชั้นประถม
ศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอนุบาลสานสายใยรักเทศบาลเมืองเมืองแกนพัฒนา สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการกิจกรรมการเรียนรู้ ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ประกอบแบบฝึกทักษะเรื่อง เศษส่วนและการบวก ลบ คูณ หารเศษส่วน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอนุบาลสานสายใยรักเทศบาลเมืองเมืองแกนพัฒนา ภาพรวมทั้งหมดอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.64 ,S.D.= 0.552 ) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ความพึงพอใจในแต่ละด้าน สรุปได้ตามลำดับ
ดังนี้ อันดับที่ ความพึงพอใจด้านกิจกรรมการเรียนการสอน (=4.75 ,S.D.= 0.507 ) อันดับที่ 2 ด้านด้านผู้สอน (=4.68 ,S.D.= 0.538 ) อันดับที่ 3 ด้าน การวัดผลประเมินผล  (=4.63 ,S.D.= 0.554 )และอันดับที่ 4 ด้านผู้เรียน (=4.49 ,S.D.= 0.670 ) ตามลำดับ